สรุป Live: VI สายบุ๋น ชี้เป้าหุ้นมังกร กับ 'Jitta Ranking จีน'

8 กรกฎาคม 2564EventsLive

ไฮไลต์

  1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีนฉบับที่ 14 (2564-2568) จีนจะเน้นยุทธศาสตร์วงจรคู่ (Dual Circulation) พึ่งพาประเทศอื่นๆ ให้น้อยลง เน้นพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้มากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจและธุรกิจจะเติบโตในระยะยาวมีสูงมาก
  2. การเข้าตรวจสอบหุ้นเทคโนโลยีจากรัฐบาลจีน เป็นกลไกเพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้กับประชาชน ดังนั้นจะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น แต่ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาว
  3. การเมืองแบบคอมมิวนิสต์พรรคเดียว มีข้อดีคือ จะสามารถขับเคลื่อนนโยบายประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด มีแผนระยะยาวชัดเจน แตกต่างจากการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีวาระการบริหารงานชัดเจน ถ้าการเมืองเปลี่ยนมือ นโยบายก็ไม่ต่อเนื่อง
  4. การลงทุนหุ้นกลุ่ม A-share เป็นโอกาสที่น่าสนใจ เพราะยังมีอีกหลายบริษัทจีนที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตจากการขยายธุรกิจในประเทศอีกมาก เช่น ขยายธุรกิจจากมณฑลหนึ่ง ไปอีกมณฑลหนึ่ง ซึ่งมีตลาดผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอีก 100 ล้านคน
  5. Jitta Ranking จีน จะพาคุณไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม A-share โดยใช้ AI ของ Jitta คัดเลือก ‘หุ้นดีราคาถูก’ ตามหลักการลงทุนของ Warren Buffett เพื่อลงทุนในหุ้นคุณค่า (Value  Stock) ที่มูลค่าต่ำกว่าพื้นฐาน แต่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว วัดจากผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 13.42% ต่อปี

ดูวิดีโอย้อนหลัง

สรุปเนื้อหา Live

Jitta Wealth ได้เปิดตัวกองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking จีน แน่นอนว่า ทีมงาน Jitta Wealth ต้องจัด Live เพื่อฉายภาพโอกาสลงทุนในจีน โดยเฉพาะการลงทุนหุ้นจีนในดัชนี A-share ว่ามีความน่าสนใจยังไง นักลงทุนไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง หากมีพอร์ตลงทุนหุ้นจีน 

Live ในหัวข้อ VI สายบุ๋น ชี้เป้าหุ้นมังกร ได้รับเกียรติอีกครั้งกับ คุณมี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์ นักลงทุนสาย VI ที่คุ้นเคยกับจีนมาครึ่งค่อนชีวิต กับคุณทีน่า สุภัททกิต เจตทวีกิจ CFA และผู้เขียนหนังสือกาลครั้งหนึ่งใน ‘จีนยุคใหม่’ มาเล่ามุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับจีนและโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นจีน

และที่พลาดไม่ได้คือ พวกเขาทั้ง 2 คน จะมาชี้เป้าหุ้นจีนที่น่าสนใจ เหมาะจะเป็นหุ้นคุณค่า (Value Stock) สำหรับลงทุนระยะยาว

ที่ขาดไม่ได้ คือ CEO ของ Jitta Wealth คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้มาเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งนี้

ต้องขอบคุณผู้ชม Live สดกว่า 500 คน ที่อยู่ด้วยกันมาตลอด 2 ชั่วโมง

เศรษฐกิจจีนเป็นอย่างไร

คุณมี่ ให้มุมมองเกี่ยวกับจีนที่น่าสนใจว่า ปัจจุบันจีนเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจีนฉบับที่ 14 (2564-2568) มีเรื่องที่เด่นๆ คือ ยุทธศาสตร์วงจรคู่ (Dual Circulation) จีนจะพึ่งพาประเทศอื่นๆ ให้น้อยลง เช่น การผลิตชิปที่จะทุ่มเงินลงทุนมหาศาลเข้าไป หรือการเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

นอกจากนี้มีประเด็นเรื่องขจัดความยากจน โดยรัฐบาลจีนชนชั้นกลาง รายได้ปานกลางค่อนข้างสูงอีก 600 ล้านคน เป็นจำนวนใหญ่มาก เพราะแค่จับจ่ายแค่ 10% ก็เท่ากับ GDP ไทยแล้ว 

“ทุกอย่างในแผนของจีนตอนนี้เป็นไปตามเป้า Covid-19 เป็นแค่บททดสอบว่า กระทบมากขนาดนี้ ปีที่แล้วยังโตกว่า 2% แล้วปีนี้หลายคนบอกว่าจะโต 8-9% ด้วย”

“ผมมองจีนมีอายุแบบวัยกลางคนนะ ไม่ได้มองว่า เขากำลังเข้าสู่สังคมคนสูงอายุเลย อายุประเทศราวๆ 40 ปี เหมือนไทย แต่เป็นคนที่สุขภาพแข็งแรง กินคลีน”

ประเด็นที่น่ากังวล คือ การเข้ามาควบคุมหุ้นเทค เช่น แบนแอปพลิเคชัน Didi ถ้าขายของผ่าน Taobao จะขายผ่าน JD.com ยากขึ้น ที่มีประเด็นการเอาเปรียบและผูกขาดตลาด รัฐบาลจีนเข้ามาแก้ปัญหาขจัดเรื่องพวกนี้ให้มันเรียบร้อย ซึ่งระยะสั้นอาจมีหลายๆ ฝ่ายได้ผลกระทบ แต่ในระยะยาวก็ส่งผลดีมากกว่า

ส่วนคุณทีน่า บอกว่า ช่วงที่ผ่านมา จีนพยายามจัดทัพในบ้านให้มีคุณภาพ เขาถอยหนึ่งก้าว เพื่อที่จะก้าวกระโดดอย่างมั่นคงในอนาคต

ในช่วง 2-3  ปีที่ผ่านมา จีนเปิดโอกาสให้บริษัทเทคโนโลยีทำอะไรเต็มที่ ให้ทั้งผู้ประกอบการได้ทดลองและให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งผู้บริโภคเห็นความสำคัญกับเทคโนโลยี ผู้ประกอบการก็ต้องทำให้กิจการมีความมั่นคงขึ้น รัฐบาลจีนอาจมองว่า ถ้าโตไปอาจจะไม่แข็งแรง เลยเข้ามาจัดการในช่วงนี้

“แต่เชื่อว่าเป็นการจัดการที่จะไม่ทำให้เศรฐกิจไม่ดีหรือแย่ลง เพราะประชาชนเดือดร้อนแข่งขันลำบาก เพียงแต่เขามองการจัดการในภาพใหญ่จริงๆ ซึ่งผู้บริโภคก็เข้าใจ  อีกอย่างที่เน้นคือ เพื่อสนับสนุนแผน Dual Circulation รัฐบาลก็เร่งกำลังการบริโภคในประเทศ มาทดแทนการพึ่งพาจากนอกประเทศด้วย”

“อย่างเรื่อง R&D ประธานาธิบดี Xi Jinping ตั้งเป้างบประมาณการลงทุนที่ 7% ต่อปี จากเดิมก็เยอะอยู่แล้ว อยากทำให้จีนเป็นประเทศที่จัดสรรงบประมาณด้านนี้สูงที่สุดในโลก รู้ถึงปัญหาว่า เคยเป็นประเทศที่มี R&D เก่งมาก แต่ไม่ได้มีสุดยอดเทคโนโลยีที่พลิกชีวิตผู้คนทั่วโลก หรือ Breakthrough Technology ที่มากเท่าประเทศอื่นๆ” 

ประธานาธิบดี Xi ตั้งเป้าพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งก็ต้องดีขึ้นในภาพใหญ่ เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ผู้นำด้านพลังงานสะอาด และผู้นำรถ EV 

การเมืองจีนเป็นอย่างไร

คุณมี่ มองว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละประเทศเขียนคล้ายๆ กัน แต่หลักสำคัญที่ทำให้เป็นจริงคือ ผู้นำต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ ซึ่งจีนอยู่ทางนั้น แก้ปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว ไม่หวังผลระยะสั้น มองไปที่ปลายทาง

เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ ยังขาดความต่อเนื่องในระยะยาวเลย คนที่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีอาจจะมองแค่ช่วงตัวเองอยู่ในวาระเท่านั้น 

การเมืองพรรคเดียว ข้อดีคือ มันมีความต่อเนื่องของแผนเศรษฐกิจ สามารถวางแผน 20-30 ปีได้และในตอนนี้วางแผนเป็นผู้นำในหลายอุตสาหกรรม เพื่อทัดเทียมหรือก้าวหน้ากว่าสหรัฐฯ เช่น AI 5G พลังงานสะอาด และรถ EV 

มุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นจีน

คุณมี่ บอกว่า เศรษฐกิจจีนเติบโตร้อนแรง ตลาดหุ้นโตตามไปด้วย มีนักลงทุนรายย่อยมากขึ้น การเลือกหุ้นการใช้วิธีการแบบ Warren Buffett ลงทุนหุ้นที่ยังมีมูลค่าต่ำกว่าพื้นฐาน (Undervalued)

ประเด็นมูลค่าหุ้น (Valuation) ยังถูกมาก ขนาดหุ้นเทคอย่าง Alibaba มีค่า P/E (Price-to-Earnings Ratio) 20 เท่า ยังไม่สูงมาก และมีหุ้นในธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเติบโต เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร ที่ยังมีค่า P/E เฉลี่ยประมาณ 3-5 เท่า

คุณทีน่า บอกว่า สำหรับการลงทุนหุ้นจีน มี 3 กลุ่มที่น่าสนใจ  

  • หุ้น A-share จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ (SSE) ประมาณ 2,000 บริษัท และเซินเจิ้น (SZSE) 2,400 บริษัท ใช้สกุลเงินหยวนจีน เมื่อก่อนเปิดให้เฉพาะนักลงทุนจีนซื้อขายได้เท่านั้น ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติสามารถซื้อขายผ่านตลาดหุ้นฮ่องกง (HKEX) 
  • หุ้น H-share จดทะเบียนซื้อขายใน HKEX จำนวน 2,552 บริษัท ใช้สกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกง 
  • หุ้น US-ADR ซึ่งเป็นหุ้นจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq เช่น Alibaba JD.com Nio หรือ Pinduoduo

“สำหรับ A-share มองว่า มีบริษัทจีนเยอะมากที่โลกยังไม่รู้จัก และกำลังเติบโต ขยายตัวจากมณฑลหนึ่ง ไปอีกมณฑลหนึ่ง เท่ากับเหมือนได้ไปอีกตลาด ที่มีลูกค้าเพิ่มอีก 100 ล้านคน ถ้าอย่างไทย บริษัทที่จะโตคือไปต่างประเทศ ซึ่งไม่ง่าย ภาษา กฎ วัฒนธรรมต่างๆ แต่ของจีนคือ บริษัทเล็กๆ ข้ามมณฑลก็แค่ขึ้นรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทุกอย่างทำเหมือนเดิม”

หุ้นที่เหมาะกับนักลงทุน VI

คุณทีน่า เลือกหุ้นในดวงใจมา 2 ตัว ได้แก่

  1. Haier Smart Home อยู่ใน Jitta Ranking ใน 50 อันดับแรก ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน บริษัทมีความน่าสนใจตรงที่พัฒนาบริการสมาร์ตโฮม และ Internet of Things (IoT) และมีจุดแข็งคือ เน้นสินค้าที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมทั้งเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจ โดยซื้อแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ทั่วโลก เช่น GE และ Sanyo 
  2. Zhejiang Dahua Technology อยู่ใน Jitta Ranking ใน 100 อันดับแรก เป็นผู้ผลิตกล้องวงจรปิดอันดับ 2 ของโลก กำลังได้รับความสนใจมาก จากการพัฒนา AI งบการเงินไตรมาสที่ผ่านมา รายได้โต 46% โดย 60% มาจากจีน ตอนนี้กำลังขยายตลาดไปลาตินอเมริกาและอินเดีย

คุณมี่ เลือกหุ้นในดวงใจ 2 ตัว ได้แก่

  1. SAIC Motor Corporation ไม่ได้อยู่ใน Jitta Ranking ผู้ผลิตรถยนต์ เจ้าของแบรนด์ MG ที่ทำตลาดในไทย ตอนนี้งบการเงินยังไม่สวย แต่มีความน่าสนใจคือ พัฒนารถ EV ขนาดเล็ก ขายเดือนละ 30,000 คัน ส่วนราคาหุ้นยังไม่แพง ค่า P/E ที่ แค่ 10-12 เท่า
  2. Bank of Chengdu อยู่ใน Jitta Ranking ใน 50 อันดับแรก เฉิงตูเป็นเมืองรองๆ แต่ GDP โตปีละ 8% มีประชากรเพียง 7-8 ล้านคน ธุรกิจธนาคารมีกำไรเติบโต 8-9% และ อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) สูง 70-80% และมี Non-Performing Loan (NPL) ต่ำ ค่า P/E ประมาณ 5-6 เท่า และมีปันผลดี 

ข้อมูล Jitta Ranking จีน

กองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking จีน จะพาคุณไปเปิดโอกาสลงทุน ‘หุ้นดีราคาถูก’ ในตลาดหุ้นจีน กลุ่ม A-share ใน SSE และ SZSE ผ่านการคัดกรองจาก AI ที่ Jitta พัฒนาขึ้นมา วิเคราะห์งบการเงินย้อนหลัง 10 ปี จากหุ้นจีนกว่า 1,400 หุ้น เพื่อดูคุณภาพกิจการและโอกาสเติบโตในอนาคต 

Jitta Ranking จะจัดพอร์ตลงทุนหุ้นคุณค่าตามหลักการ Warren Buffett และคอนเซ็ปต์ ‘หุ้นดีราคาถูก’ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้นักลงทุนทำกำไรสูงชนะดัชนีตลาดในระยะยาว โดยจะจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยง 5-20 หุ้น

  • ผลตอบแทนรวมย้อนหลัง 10 ปี
    • Jitta Ranking จีน 253.90%
    • ดัชนี CSI300 TRI 105.34%
  • ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
    • Jitta Ranking จีน 13.42%
    • ดัชนี CSI300 TRI 7.46%

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากคุณสนใจคว้าโอกาสสร้างพอร์ตเติบโตไปการแผนระยะยาวของจีน ลองเข้ามาศึกษาแนวทางการลงทุนได้ที่ https://jittawealth.com/jitta-ranking/china 

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด