Thematic DIY กับ Thematic Optimize แบบไหนที่ใช่คุณ

1 ตุลาคม 2564DIYJitta WealthOptimizeThematic

จากความสำเร็จของกองทุนส่วนบุคคล Thematic ที่ Jitta Wealth ได้จุดประกายให้คุณมีโอกาสลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) ต่างประเทศในธีมเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ สูงสุดถึง 5 ธีมในพอร์ตเดียว โดยมีธีมเมกะเทรนด์ทั่วโลกให้เลือกลงทุนกว่า 10-20 ธีม

เราแนะนำกองทุนส่วนบุคคล Thematic ในเดือนตุลาคม 2563 ทำให้การลงทุนในธีม หรือ Thematic Investment กลายเป็นเทรนด์การลงทุนยุคหลัง Covid-19 ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก Jitta Wealth กลายเป็น Trendsetter ปลุกกระแส Thematic ให้นักลงทุนไทยเริ่มหาโอกาสลงทุนต่างประเทศ

แต่เพราะธีมการลงทุนที่มีมากมาย…อาจทำให้คุณเลือกธีมไม่ได้ 

ธีมนี้ก็โดน ธีมนั้นก็ใช่ ธีมไหนๆ ก็เติบโตดี แล้วจะจัดพอร์ตลงทุน Thematic ที่ให้ผลตอบแทนโดนใจ ต้องเลือกธีมอย่างไร

Jitta Wealth ได้ปลดล็อกความกังวลเหล่านี้ ด้วย Thematic Optimize ที่จะช่วยคุณ ‘เลือกให้ถูก’ ด้วย AI จัดพอร์ต คัดเลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุด 4 ธีมในช่วงเวลาที่คุณเริ่มลงทุน

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ หรือลงทุนกับ Thematic มาแล้ว ลองมาทำความรู้จักกับกองทุนส่วนบุคคล Thematic DIY กับ Thematic Optimize ให้มากขึ้นกัน

แล้วจะได้รู้ว่า คุณเหมาะจะลงทุนใน Thematic DIY หรือ Thematic Optimize กันแน่

3 จุดเด่นของ Thematic Optimize 

จุดเด่นของ Thematic Optimize คือ ประยุกต์ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ Jitta Wealth พัฒนาขึ้นมา เพื่อมาช่วยจัดพอร์ตลงทุนธีมเมกะเทรนด์ให้มีประสิทธิภาพที่สุด

หน้าที่ของ AI สำหรับ Thematic Optimize คือ คำนวณโอกาสเติบโต ผลประกอบการของหุ้นในแต่ละธีม ผลตอบแทนของ ETF ธีมนั้นๆ ความผันผวน และปัจจัยอื่นๆ ของแต่ละธีม มาจัดพอร์ตให้คุณ 4 ธีม และจะปรับพอร์ตลงทุนโดยอัตโนมัติทุก 3 เดือน

เป็นการต่อยอดจากความสำเร็จที่ Jitta Wealth พัฒนา AI มาช่วยคัดเลือกสินทรัพย์ จากแพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้น Jitta สำหรับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking สู่ AI เพื่อจัดพอร์ตธีมที่น่าลงที่สุดให้กับ Thematic Optimize

นี่คือ ไฮไลต์ 3 จุดเด่นของ Thematic Optimize เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

  1. ปราศจากอารมณ์และอคติ เพราะ AI คัดเลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุด

ข้อดีของ AI คือ แสกนข้อมูลใน ETF ของแต่ละธีมย้อนหลังและรอบด้าน เพื่อให้ได้ธีมที่น่าลงทุนที่สุด ดังนั้นธีมที่ผ่านการเลือกของ AI จะอยู่บนพื้นฐานของบิ๊กดาตาและตัวเลข

AI ที่ Jitta Wealth พัฒนาขึ้นมา จะไม่มีอารมณ์และอคติใดๆ 

เวลามนุษย์เลือกจัดพอร์ตลงทุน Thematic เอง แน่นอนว่า บางคนจะพิจารณาจากผลตอบแทนย้อนหลัง หรือโอกาสการเติบโต รวมไปถึงเลือกธีมเพราะชื่นชอบเป็นทุนเดิม 

และอาจจะมีบางครั้งที่อาจจะไม่อยากลงทุนธีมนั้น แต่ราคาและผลตอบแทนกลับเติบโตได้ดี ก็ทำให้ตัดสินใจลำบาก

ดังนั้นการเลือกธีมโดยมนุษย์ มีเหตุผลประกอบบ้าง หรือมีอารมณ์และอคติส่วนตัวบ้าง เป็นปัจจัยที่ไม่แน่นอน ทำให้คาดการณ์ผลการลงทุนได้ลำบาก

ถ้าคุณอยากจัดพอร์ตลงทุนบนหลักเหตุและผลแบบตรงไปตรงมา ให้ AI ของ Thematic Optimize จัดพอร์ตให้ คุณก็จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจผิดพลาด อันเกิดจากอารมณ์แปรปรวนคาดการณ์ไม่ได้ของมนุษย์ไปได้แล้ว 

  1. สร้างวินัยการลงทุน ผ่านการปรับพอร์ตทุก 3 เดือน  

AI จะคอยรีวิวพอร์ตทุกสิ้นไตรมาส หากธีมที่ลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ราคาหรือผลตอบแทนลดลง ETF มีความผันผวนจากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น AI จะเลือกธีมใหม่ที่ดีกว่าเข้ามาแทน คุณมั่นใจได้ว่า จะลงทุนในธีมที่น่าลงทุนที่สุดอยู่เสมอ

การปรับพอร์ตลงทุนทุก 3 เดือนเป็นการสร้างวินัยการลงทุนที่ดี เพราะ ETF จะอัปเดตผลตอบแทนและพอร์ตลงทุนรายไตรมาสเหมือนกับหุ้น ดังนั้นการพัฒนา AI เพื่อมาอำนวยความสะดวกในการรีวิวพอร์ต ก็ช่วยให้คุณยังรักษาวินัยการลงทุนได้ 

คุณไม่จำเป็นต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธีมที่คุณสนใจ หรือปรับพอร์ตลงทุนด้วยตัวเอง พร้อมกับมั่นใจได้ว่า พอร์ตลงทุนแบบ Thematic ยังมีการเติบโตได้ แม้จะเผชิญความผันผวนระยะสั้นในโลกการลงทุนก็ตาม

หากต้องการให้มูลค่าพอร์ตเติบโต สำหรับการลงทุนระยะยาว คุณเพียงเพิ่มทุน หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) เข้าไปในพอร์ต แล้วให้ AI ทำงานและปรับพอร์ตให้คุณทุกไตรมาสนั่นเอง

  1. โอกาสสร้างผลตอบแทนเติบโตระยะยาว โดยไม่ต้องวุ่นวายจัดการพอร์ตเอง

จากการจำลอง Back Test ย้อนหลัง 3 ปีให้ AI ที่ Jitta Wealth พัฒนาขึ้นมา เลือกจัดพอร์ตเลือกธีมให้และรีวิวพอร์ตทุกไตรมาส พิสูจน์มาแล้วว่า การให้ AI ช่วยจัดพอร์ตผ่านแผนการลงทุน Thematic Optimize สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 25% ต่อปี  

เพราะ AI คัดเลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุดในช่วงเวลานั้น ธีมที่เลือกมาจึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีและเพิ่มโอกาสให้พอร์ต Thematic รักษาการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ผ่านการปรับพอร์ตอัตโนมัตินั่นเอง 

แน่นอนว่า หากคุณมีความรู้ความเข้าใจ และมีเวลา สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำ คุณอาจสร้างผลตอบแทนสูงกว่าโดยการลงทุน Thematic DIY 

แต่หากคุณยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถทุ่มเทเวลาส่วนตัวไปดูแลพอร์ตให้เติบโตเต็มศักยภาพได้ ให้ Thematic Optimize ช่วยจัดการน่าจะเป็นทางเลือกที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับคุณแทนก็ได้ในระยะยาว  

3  จุดแข็งของ Thematic DIY

ถึง Jitta Wealth จะพัฒนา Thematic Optimize เพื่อเป็นทางเลือกให้คุณแล้ว แต่หากคุณต้องการบริหารจัดการธีมที่ลงทุนด้วยตนเอง คุณสามารถออกแบบพอร์ตลงทุนด้วยตนเอง โดยลงทุนแผน Thematic DIY ที่จัดพอร์ตได้อย่างอิสระ สูงสุด 5 ธีม ในพอร์ตเดียว 

ถ้าคุณมีความรู้ในธีมที่คุณสนใจเป็นอย่างดี รู้จัก ETF หรือหุ้นที่ ETF เข้าไปลงทุนทะลุปรุโปร่ง รวมถึงติดตามข่าวสารและหมั่นเช็คผลตอบแทนของ ETF อยู่เสมอ Thematic DIY ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมาก เพราะพอร์ตยืดหยุ่นได้ตามความสนใจของคุณเอง ทั้งยังสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่ดีได้ เพราะเป็นการลงทุนในเมกะเทรนด์เช่นเดียวกัน 

นี่คือ ไฮไลต์ 3 จุดแข็งของ Thematic DIY หากคุณต้องการจัดพอร์ตเอง 

  1. เลือกจำนวนธีมได้เอง และดีไซน์พอร์ตได้ตามใจชอบ

นี่คือจุดแข็งของ Thematic DIY คุณเลือกธีมได้สูงสุด 5 ธีม ซึ่งกระจายความเสี่ยงสูงสุด หาก 1 ใน 5 ธีม มีการเปลี่ยนแปลง ราคา ETF ลดลง 10-20% โอกาสที่พอร์ตโดยรวมจะขาดทุนเหลือเพียง 2-4% เท่านั้น เพราะธีมที่เหลืออาจจะไม่ได้มีราคาเปลี่ยนแปลงมาก หรือไม่ได้รับผลกระทบ ยังเติบโตดีอยู่

ก่อนที่จะเลือกธีม คุณสามารถศึกษาหาข้อมูลจาก ETF ต้นทาง เพื่อดูผลตอบแทนย้อนหลัง และหุ้นที่ ETF ลงทุนอยู่ รวมทั้งดูเทรนด์ราคา ETF ย้อนหลังได้จาก Yahoo! Finance TradingView Investing.com หรือ Morningstar เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกธีม

นอกจากนี้หากคุณต้องการกระจายความเสี่ยง ลองเลือกธีมที่มีค่า Correlation (สหสัมพันธ์) ที่แตกต่างกันมาก นั่นหมายความว่า 2 ธีมที่เปรียบเทียบกันนั้น มีทิศทางราคาและความเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน เมื่อเจอผลกระทบต่อธีมใดธีมหนึ่ง อีกธีมที่มีความสัมพันธ์กันน้อยมาก แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขาลงเลย

  1. รักษาวินัยการลงทุน ปรับพอร์ตเมื่อสัดส่วนเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5%

Jitta Wealth จะใช้ระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติ เพื่อรักษาสัดส่วนลงทุนในแต่ละธีมตามค่าเริ่มต้น ได้แก่ 5 ธีม (20%) 4 ธีม (25%) 3 ธีม (33.33%) และ 2 ธีม (50%) สำหรับพอร์ตแบบ Thematic DIY

หากคุณเลือกมากกว่า 1 ธีม ระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ เพราะการลงทุนใน Thematic ETF ยังมีความผันผวน ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อมูลค่าในธีมที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5% ระบบของ Jitta Wealth จะปรับสัดส่วนให้อัตโนมัติ โดยขาย ETF ที่มูลค่าเติบโต แล้วซื้อ ETF ที่มูลค่าลดลง

หากคุณเลือกเพียง 1 ธีม ระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติจะไม่ได้ทำงาน รวมทั้งปิดโอกาสกระจายความเสี่ยงในธีมอื่นๆ ดังนั้นคุณต้องรับความเสี่ยงและความผันผวนเอง

แต่ถ้าคุณเห็นว่า ETF ของธีมที่เลือก มีความน่าสนใจน้อยลง คุณสามารถเปลี่ยนธีมได้ ไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

  1. ผลตอบแทนเติบโต เมื่อธีมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ทีมงาน Jitta Wealth ได้จำลองทำ Back Test ย้อนหลัง หากคุณเลือกจัดพอร์ต Thematic DIY ด้วยตัวเองแบบ 4 ธีม โดยสุ่มเลือกธีมเมกะเทรนด์ที่คุณสามารถลงทุนผ่าน Thematic ได้ มาจัด 1,000 พอร์ตที่ธีมไส้ในต่างๆ กันหลายๆ แบบ เพื่อดูผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี (2560-2562) เฉลี่ยอยู่ที่ 12-18% ต่อปี

แผนการลงทุน Thematic ถูกออกแบบมาให้ลงทุนระยะยาว อย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อให้เงินลงทุนทำงานและสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้น จึงไม่ควรวัดผลการลงทุนรายไตรมาส หรือเพียง 1 ปี เพราะไม่ได้สะท้อนความเป็นเมกะเทรนด์ตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนใน Thematic ETF

เมื่อจัดพอร์ตลงทุนเลือกธีมเอง มั่นใจว่า ETF ที่เลือกมีโอกาสเติบโตในอนาคต ขอให้สบายใจได้ว่า คุณได้เลือกสินทรัพย์ที่ดี หากต้องการเพิ่มมูลค่าพอร์ตและเฉลี่ยต้นทุน ก็เพิ่มทุนหรือ DCA อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ธีมที่คุณเลือกไม่น่าสนใจแล้ว คุณก็สามารถเปลี่ยนธีมได้ไตรมาสละ 1 ครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Jitta Wealth

Thematic DIY หรือ Thematic Optimize แบบไหนที่ตรงจริตคุณ

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณจะเริ่มเห็นภาพชัดมากขึ้น ถึงข้อแตกต่างระหว่าง Thematic DIY และ Thematic Optimize และอาจจะมีคำถามขึ้นว่า ‘คุณเหมาะจะลงทุนแบบไหน’ โดยทีมงาน Jitta Wealth ได้แบ่งนักลงทุนออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้  

ใครที่เหมาะกับ Thematic DIY

สำหรับนักลงทุนที่เหมาะสมกับ Thematic DIY คือ นักลงทุนที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการจะลงทุนในธีมธุรกิจอะไร คอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับธีมการลงทุนที่ตัวเองสนใจอยู่เสมอ และรู้ถึงข้อมูล ETF ของธีมที่กำลังจะลงทุนอย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญ คือ มั่นใจในการจัดพอร์ตเอง อยากท้าทายตัวเอง และรับความเสี่ยงได้สูง

Thematic DIY จะตอบโจทย์นักลงทุนประเภทนี้ คุณสามารถเลือกจำนวนธีมที่คุณต้องการลงทุนเองได้ เพราะจะเป็นพอร์ตลงทุนในสิ่งที่คุณเข้าใจเป็นอย่างดี และออกแบบทิศทางและเป้าหมายการลงทุนของตัวเองได้

หากคุณสนใจจัดพอร์ต Thematic DIY ทีมงาน Jitta Wealth ได้เขียนบทความเป็นแนวทางในการพอร์ตลงทุนและเลือกธีม ลองศึกษาและทำความเข้าใจจากบทความเหล่านี้ 

ใครที่เหมาะกับ Thematic Optimize

สำหรับนักลงทุนที่เหมาะสมกับ Thematic Optimize คือ ต้องการลงทุนใน Thematic ETF ธีมเมกะเทรนด์ที่เป็นกระแสของโลก แต่ก็ต้องการความสบายใจว่า ธีมที่ลงทุนจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว และลดความกังวลหากธีมที่ลงทุนอยู่ ไม่น่าสนใจแล้ว เพราะ AI จะจัดการปรับพอร์ตและเปลี่ยนธีมให้อัตโนมัตินั่นเอง

นอกจากนี้ หากคุณลังเล เลือกธีมไม่ถูก ไม่สนใจที่จะลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ใดเป็นพิเศษ หรือไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร หรือค้นหาข้อมูลธีมเมกะเทรนด์นั้น แต่ยังต้องการผลตอบแทนที่ดี Thematic Optimize จะช่วยปลดล็อกปัญหาเหล่านี้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องจัดการพอร์ตลงทุนด้วยตัวเองเลย

อย่างไรก็ตาม กองทุนส่วนบุคคล Thematic เป็นการลงทุน ETF ต่างประเทศในหุ้น ยังมีความเสี่ยงสูงจากปัจจัยและความผันผวนที่ไม่คาดฝัน ข้อแนะนำ สำหรับทั้ง Thematic DIY และ Thematic Optimize คือ การเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ หรือ DCA เข้าไปในพอร์ต เพื่อเฉลี่ยต้นทุน กระจายสัดส่วนในแต่ละธีม และเร่งให้พอร์ตของคุณเติบโตในอนาคต 

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงมีคำตอบในใจแล้วว่า Thematic DIY และ Thematic Optimize แบบไหนที่ใช่คุณ ถ้าหากคุณต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth หรือเข้าไปที่เว็บไชต์ 


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

สรุป Live: เปิดตัว Thematic Optimize ลงทุนธีมเมกะเทรนด์ทั่วโลกด้วย AI ที่แรกในไทย

จัดพอร์ต ‘หุ้นเมกะแคป’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกาะเทรนด์เศรษฐกิจฟื้น

ส่อง ‘ค่าเงินบาท’ แข็งหรืออ่อน กับแนวโน้มลดวงเงิน QE

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด