‘ฟินเทค’ เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกการเงิน

12 ตุลาคม 2564DIYOptimizeThematic

ในอีก 10 ปีข้างหน้าคุณจะยังไปธนาคารอยู่หรือเปล่า… 

Bill Gates เคยพูดเอาไว้ว่า “Banking is necessary, banks are not.” แปลตรงตัวคือ ระบบการเงินยังมีความจำเป็น แต่สถาบันการเงินไม่ต้องมีก็ได้ และดูเหมือนว่า เราจะเห็นภาพนี้ชัดขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน  

‘ฟินเทค’ (Fintech) กำลังทำให้ระบบสถาบันการเงินแบบเดิมๆ เป็นเรื่องล้าสมัย ลองคิดดูว่า ในอดีตหากคุณต้องทำธุรกรรมการเงินสักอย่างหนึ่ง คุณคงต้องนั่งคิดว่า จะมีเวลาไปธนาคารไหม หรือแม้กระทั่งหากคุณสนใจจะลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ก็อาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว ไม่รู้จะเริ่มศึกษาจากตรงไหน ต้องเปิดบัญชีซื้อขายอย่างไร

แต่ในปัจจุบัน แค่หยิบสมาร์ตโฟนใช้ปลายนิ้วกดไปที่แอปพลิเคชันของสถาบันการเงิน คุณก็สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเปิดบัญชี โอนเงิน เปิดบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมต่างๆ 

แต่นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ ของคำว่า ‘ฟินเทค’ และเป็นสิ่งที่ธนาคารพยายามเกาะพื้นที่ตรงนี้เอาไว้ ยอมดิสรัปตัวเอง เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะมีผลสำรวจออกมาว่า 56% ของผู้บริหารสถาบันการเงิน คาดการณ์ว่า ฟินเทคจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญขององค์กร ดังนั้นควรวางแผนรับมือและปรับตัวตั้งแต่เนิ่นๆ 

เพราะเราไม่มีทางหนีไปจากอิทธิพลของเทคโนโลยีได้อีกต่อไป หากต้องการให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป ก็ต้องพัฒนาตัวเอง

‘ฟินเทค’ เป็นการรวมกันของสิ่งที่สำคัญในชีวิตมนุษย์ คือ การเงิน (Financial) และสิ่งที่เป็นเมกะเทรนด์อย่าง เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เสาหลักสำคัญ ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) อุปกรณ์พกพา (Mobile) การวิเคราะห์ (Analytics) และคลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อสร้างความสะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ลดลง 

โลกของฟินเทคนั้นกว้างกว่าที่คิดมาก โมไบล์แบงก์กิง (Mobile Banking) เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราทำธุรกรรมการเงินได้ โดยไม่ต้องไปธนาคาร โอนเงินก็ได้ ชำระเงินร้านค้าก็ได้ เปรียบเสมือนกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) 

อิทธิพลของฟินเทคยังมี คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) แพลตฟอร์มออนไลน์ในการระดมทุน เป็นตลาดที่ดึงนักลงทุนและผู้ประกอบการมาเจอกัน คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่อยู่บนโลกออนไลน์ อย่าง Bitcoin รวมไปถึงบล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีที่ช่วยให้ธุรกรรมการเงินไม่ต้องใช้ตัวกลางอย่างสถาบันการเงินอีกต่อไป

บทบาทของฟินเทค ยังช่วยอำนวยความสะดวกอีกหลายๆ ด้าน เช่น เครื่องมือที่ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชี ภาษีในองค์กร (Enterprise Financial Software) เทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดพอร์ตลงทุน (Investment Management) อย่าง Robo Advisor และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) 

ยังต่อยอดไปเป็น WealthTech ระบบจัดการลงทุนและปรับพอร์ตอัตโนมัติ และ InsurTech เทคโนโลยีประกันภัย การคำนวณเบี้ยประกัน ผลตอบแทน ความเสี่ยงต่างๆ  

จริงๆ แล้วฟินเทคไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย กลับเป็นเรื่องรอบๆ ตัว โดยที่คุณอาจไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำ เผลอแป๊บเดียว…ลืมหยิบกระเป๋าสตางค์ได้ แต่ลืมพกสมาร์ตโฟนไม่ได้อีกต่อไป

การเติบโตของ ‘ฟินเทค’ 

ในยุคที่หันไปทางไหนก็จะมีแต่คำว่า ‘เทคโนโลยี’ แม้บริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในปัจจุบัน ล้วนเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีทั้งสิ้น 

สำหรับ ‘ฟินเทค’ ก็คือการใช้เทคโนโลยีในระบบการเงิน นอกจากสถาบันการเงินทั่วโลกต้องปรับธุรกิจและรูปแบบการให้บริการตามเมกะเทรนด์นี้ ฟินเทคยังพาให้สตาร์ตอัปใหม่ๆ แจ้งเกิดอีกมากมาย  

สตาร์ตอัปฟินเทคที่ประสบความสำเร็จ สามารถเป็นคู่แข่งกับสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ได้ เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ ขณะเดียวกันก็สามารถเป็นพันธมิตรร่วมกันองค์กรใหญ่ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมกะเทรนด์ ‘ฟินเทค’ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมากมายในยุคที่ความเป็นดิจิทัลกำลังจะดิสรัปทุกๆ อย่าง

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ หรือสตาร์ตอัปฟินเทค หากพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ จะขยับขยายและเข้าถึงผู้ใช้งานได้รวดเร็วกว่า หากมีกลยุทธ์ออนไลน์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน บริการทางการเงินการลงทุนที่หลากหลาย จะสามารถช่วงชิงเค้กจากธุรกิจการเงินแบบเดิมๆ ได้

เพราะฟินเทคสามารถเจาะเชิงลึกได้ว่า ผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคต้องการอะไร และบริการแบบไหนที่ต้องการ สุดท้ายแล้ว ฟินเทคคือการทำให้ระบบการเงินเป็นเรื่องง่ายขึ้น การเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

จากการศึกษาของ Business Insider Intelligence พบว่า ในปี 2563 อัตราการยอมรับในธุรกิจฟินเทคเพิ่มขึ้นเป็น 64% และ กว่า 89% ของผู้บริโภคหันใช้โมไบล์แบงก์กิง

นอกจากนี้การชำระเงินออนไลน์ ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลก คาดว่าในปี 2573 สัดส่วนการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลจะสูงถึง 80% ของการชำระเงินทั้งหมด 

ผลวิจัยของ Capgemini แสดงให้เห็นว่า 68% ของผู้บริโภค มีแนวโน้มจะเปลี่ยนมาใช้บริการฟินเทค ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ ต้นทุนต่ำกว่า มีความสะดวกสบายในการใช้มากกว่า และบริการที่รวดเร็วกว่า 

คน Gen Y และ Gen Z ในสัดส่วน 92% มีแนวโน้มจะเลิกใช้ธนาคารออนไลน์ของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ และกว่า 72% รู้สึกสนใจในข้อเสนอของบริษัทหรือสตาร์ตอัปฟินเทคมากกว่า และคาดว่าในปี 2568 จะมีเงินไหลเวียนอยู่ในการชำระเงินแบบดิจิทัลกว่า 10.50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิง ตัวกลางแห่งการระดมทุนสร้างธุรกิจใหม่ๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของธุรกิจฟินเทค ที่จะมาดิสรัประบบสินเชื่อธนาคารในปัจจุบัน ที่มีความเข้มงวดสูง ทำให้ธุรกิจรายเล็กๆ รวมไปถึงสตาร์ตอัปแจ้งเกิดยาก คราวด์ฟันดิงเป็นเหมือนตลาดซื้อขายไอเดียธุรกิจ สามารถระดมทุนได้จากหลายๆ แหล่ง โดยไม่ต้องพึ่งสถาบันการเงิน 

ในปี 2563 มีสตาร์ตอัปฟินเทคเกิดขึ้น 8,775 แห่งในสหรัฐฯ และมี 7,385 แห่ง ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ส่วนอีก 4,765 รายในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2562 

อัตราการใช้ฟินเทคของผู้ใช้งานทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นมาโดยตลอด สะท้อนว่า ‘ฟินเทค’ สามารถไล่ตามระบบการเงินแบบเดิมได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี เมื่อมองภาพในอนาคต พฤติกรรมผู้ใช้งานจะเลือกใช้ฟินเทคมากขึ้นเรื่อยๆ สถาบันการเงินใหญ่ๆ ที่ปรับตัวช้าหรือยังวิ่งไล่ตาม ก็มีแนวโน้มสูญเสียฐานลูกค้าเช่นเดียวกัน 

สุดท้ายแล้วสถาบันการเงิน รวมไปถึงธนาคารกลางแต่ละประเทศ ก็ต้องหันมาร่วมมือกับบริษัทหรือสตาร์ตอัปฟินเทค เพราะหากไม่ลงทุนวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้วยตัวเอง ก็ต้องหาความร่วมมือ เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งและปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นี่คือ ภาพของฟินเทคที่กำลังเป็นโลกการเงินในปัจจุบันและอนาคต และเป็นคำตอบที่ว่า เมกะเทรนด์ฟินเทคกำลังเติบโต

ตลาดฟินเทคทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 127,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 โดยคาดการณ์ว่า จะเติบโตราวๆ 25% ต่อปี และในปี 2565 จะมีมูลค่าสูงถึง 309,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ยิ่งไปกว่านั้น คาดว่า จะมีเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนในธุรกิจ ‘ฟินเทค’ กว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี 

Jitta Wealth

โอกาสลงทุนในเมกะเทรนด์ ‘ฟินเทค’ 

ถ้าคุณชื่นชอบการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน เป็นสายโอนไวจ่ายไว หรือชอบลงทุนกองทุนรวม ETF และหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ต มันสะท้อนแล้วว่า ‘ฟินเทค’ มีอิทธิพลกับวิถีชีวิตคุณเข้าแล้ว…

และในอนาคต…คุณคงไม่เลิกใช้แพลตฟอร์มฟินเทคเหล่านี้

เมื่อเห็นแล้วว่า ฟินเทคเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกำลังแทรกแซงเข้าไปอยู่ในทุกธุรกิจ ดังนั้นฟินเทคจึงเป็นอีก 1 เมกะเทรนด์ที่น่าลงทุน เพราะมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปในระยะยาว 10-20 ปีจนกว่าจะใช้กันแพร่หลายทั่วโลก

Jitta Wealth มีกองทุนส่วนบุคคล Thematic ธีมฟินเทค (เทคโนโลยีการเงิน) ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเงินจากทั่วโลกผ่าน Global X FinTech ETF (FINX) ครอบคลุมมากกว่า 50 บริษัท หุ้น เช่น ประกัน การลงทุน ลงทุนระดมทุน สินเชื่อผ่านระบบดิจิทัล เช่น บล็อกเชน คริปโทเคอร์เรนซี และการบริหารความมั่นคั่งอัตโนมัติ (Automated Wealth Management)

FINX เป็น Passive ETF ลงทุนให้ผลตอบแทนตามดัชนี Indxx Global FinTech Thematic Index เป็น 1 ใน ETF กลุ่มฟินเทคที่มีความน่าสนใจ เพราะจัดตั้ง ETF ยาวนานที่สุดและมีการเติบโตที่น่าสนใจ ด้วยมูลค่า AUM ประมาณ 1,340 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี เติบโต 26.19% ต่อปี ณ 8 ตุลาคม 2564 

ส่วนผลตอบแทนรวมตั้งแต่จัดตั้ง ETF 12 กันยายน 2559 อยู่ที่ 226.67%

หากคุณสนใจอยากลงทุนในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพย์เมนต์อย่าง PayPal หรือฟินเทคของ Twitter อย่าง Square ที่เพิ่งซื้อกิจการ Afterpay หวังเกาะเทรนด์ Buy Now Pay Later ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Coinbase เจ้าของแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี หรือจะเป็น Adyen แพลตฟอร์มการชำระเงินระดับโลกจากเนเธอร์แลนด์ คุณสามารถลงทุนผ่าน FINX และกระจายความเสี่ยงในธุรกิจฟินเทคได้ในกองเดียว

หากคุณมั่นใจในโอกาสเติบโตของธีมฟินเทค คุณสามารถเลือกจัดพอร์ตได้เองตามใจชอบผ่าน Thematic DIY โดยลงทุนร่วมกับธีมเมกะเทรนด์อื่นๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ คลาวด์ หุ่นยนต์และ AI และเกมและสปอร์ต แล้วให้เงินทำงานผ่านระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติของ Jitta Wealth ดูผลตอบแทนระยะยาวๆ 3-5 ปีหรือนานกว่านั้น

แต่ถ้าคุณไม่อยากจัดพอร์ตลงทุนธีมเมกะเทรนด์เอง ให้ AI ของ Thematic Optimize เป็นทางเลือกเพื่อช่วยให้คุณลงทุนได้ง่ายขึ้น คุณจะไม่ได้ลงทุนในธีมฟินเทคตลอดเวลา บางไตรมาส AI จะเลือกธีมฟินเทคมาให้ เมื่อไตรมาสนั้นธีมฟินเทคน่าลงทุนที่สุด

สอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ทาง Line ID: @JittaWealth 


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ้างอิง 

  1. FinTech Disruption in Banking Industry Driven by UX Design https://www.theuxda.com/blog/fintech-disrupts-banking-with-user-experience
  1. State of the FinTech Industry (with Infographic) https://www.toptal.com/finance/market-research-analysts/fintech-landscape
  2. 4 Ways FinTech is Disrupting Banking https://www.mintcopywritingstudios.com/blog/how-fintech-disrupting-banking
  1. ฟินเทค เทคโนโลยีทางการเงิน https://www.peerpower.co.th/blog/investor/fintech-technology/
  1. Fintech Statistics https://balancingeverything.com/fintech-statistics/

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

AI ของ Thematic Optimize จัดพอร์ตอย่างไร ทำผลตอบแทนได้ 25% ต่อปี

Thematic DIY กับ Thematic Optimize แบบไหนที่ใช่คุณ

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด