4 ทางเลือกจัดพอร์ตในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับ Jitta Wealth

20 สิงหาคม 2564Global ETFJitta RankingJitta WealthThematic

เมื่อการลงทุนต่างประเทศเป็นเรื่องที่ ‘ต้องทำ’ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จึงเป็นหมุดหมายแรกที่นักลงทุนสนใจ เพราะเป็นตลาดการเงินใหญ่ที่สุดในโลก

เฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาร์เก็ตแคปครึ่งปีแรก 2564 มูลค่า 46.99 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปลายปี 2563 ถึง 15.37% 

แม้ว่า จะเป็นประเทศที่เคยเจ็บหนักจาก Covid-19 เมื่อปี 2563 มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อย เนื่องจากบริษัทที่อยู่ในตลาดส่วนใหญ่ทำธุรกิจทั่วโลก

ที่สำคัญคือ บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันเป็นกลไกในการขับเคลื่อนตลาดหุ้นสหรัฐฯ และอยู่ในดัชนี S&P500 กลุ่ม Information Technology มีน้ำหนักในดัชนีถึง 28.2% เฉพาะหุ้นบิ๊กเทคอย่าง Apple Microsoft Amazon Alphabet และ Facebook มีน้ำหนักในดัชนี S&P500 รวมกัน 22.6% 

ยิ่งไปกว่านั้น หุ้นเทคโนโลยีเหล่านี้…ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 น้อยมาก เพราะผู้คนหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จากมาตรการล็อกดาวน์

นี่คือ จุดเด่นหลักๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ยังทำให้มีศักยภาพเติบโตได้ แม้จะเผชิญวิกฤตมากมายในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นช่วง Black Monday ปี 2530 ช่วง Dotcom Bubble ปี 2544 ช่วง Subprime Mortgage ปี 2551 และล่าสุดคือ Covid-19 Pandemic ปี 2563

สำหรับปี 2564 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากกำลังฟื้นตัวจากวิกฤต Covid-19 อย่างมีนัยสำคัญ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า GDP สหรัฐฯ จะเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 3 ทศวรรษ ถึง 6.5% ปีนี้ จากที่หดตัว 3.5% ในปีที่ผ่านมา

ตำแหน่งประธานาธิบดีเปลี่ยนมือจากพรรค Republican เป็น Democrat และ Joe Biden ครองเก้าอี้บริหารประเทศ 4 ปี มาพร้อมแผนอัดฉีดเม็ดเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ผ่าน American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และแผนลงทุนฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินรวม 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เม็ดเงินมหาศาลเหล่านี้ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรง เกิดการลงทุนซื้อเครื่องจักรและวัตถุดิบ และการจ้างงานใหม่ๆ ซึ่งจะเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนในประเทศอีกมาก

เมื่อการบริโภคภาคประชาชนฟื้นตัว ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เนื่องจากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและคลายมาตรการล็อกดาวน์ ประชาชนจึงมี Pent-up Demand (ความต้องการซื้อที่ยังไม่ได้ซื้อ) รวมทั้งราคาพลังงานที่สูงขึ้น

นักวิเคราะห์ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ หรือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐฯ ในเดือนต่อๆ ไป จะยังอยู่ในระดับสูง เพราะมีสัญญาณเร่งตัวมาตลอดตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา สำหรับเดือนกรกฎาคม เงินเฟ้อพุ่งเป็น 5.4% ยังคงเป็นตัวเลขสูงที่สุดในรอบ 13 ปี 

ผลบวกที่ตามมาคือ การจ้างงานเพิ่มขึ้น ดูจากผลสำรวจจำนวนการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนแรงงาน (Job Openings and Labor Turnover Survey – JOLTS) ในเดือนมิถุนายน พบตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน หรือตำแหน่งงานว่างมาอยู่ที่ 10.1 ล้านตำแหน่ง เพิ่มขึ้น 590,000 ตำแหน่งจากเดือนพฤษภาคมที่ 9.5 ล้านตำแหน่ง

และตัวเลขยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก สหรัฐฯ รายสัปดาห์ยังคงทำนิวโลว์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดคนว่างงานสะสมอยู่ที่ 2.82 ล้านคน สะท้อนว่า ประชาชนเริ่มกลับมามีงานทำ มีรายได้หลังจากที่เผชิญภาวะโรคระบาดเมื่อเดือนมีนาคม 2563

เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว จากปัจจัยในประเทศ จึงส่งผลดีให้กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะตลาดหุ้นยังอยู่ในช่วงหลังวิกฤต ผลตอบแทนมักจะเป็นขาขึ้นอยู่แล้ว

ผลตอบแทนของดัชนี Nasdaq S&P500 และ DJIA

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯปี 2564 (1 มกราคม – 19 สิงหาคม 2564)1 ปีย้อนหลัง (20 สิงหาคม 2563 – 19 สิงหาคม 2564)3 ปีย้อนหลัง (20 สิงหาคม 2562 – 19 สิงหาคม 2564)5 ปีย้อนหลัง ​​(20 สิงหาคม 2559 – 19 สิงหาคม 2564)10 ปีย้อนหลัง ​​(20 สิงหาคม 2554 – 19 สิงหาคม 2564)
Nasdaq+15.5%+34.86%+85.84%+178.64%+463.14%
S&P500+18.9%+32.16%+54.39%+102.69%+261.01%
DJIA+14.4%+26.03%+35.94%+89.63%+200.46%
ที่มา: Yahoo! Finance

จะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงระยะสั้นๆ หลังจาก Covid-19 มีผลตอบแทนที่ดีในช่วงปี 2564 และ 1 ปีย้อนหลัง ตามการฟื้นตัว หลังจากดิ่งลงหนักช่วงมีนาคม 2563 

แต่ที่น่าสนใจคือ ในระยะกลางและยาว 3 ปี 5 ปี และ 10 ปีย้อนหลัง ทั้ง 3 ดัชนีหลักของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนสูงมาก ยิ่งนานยิ่งสูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัว

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นศูนย์รวมของ ETF (Exchange Traded Fund) ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หุ้น รวมไปถึงคริปโทเคอร์เรนซี 

ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก คือ Thematic ETF เป็น ETF ธีมการลงทุน ลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว หรือเป็นเมกะเทรนด์ที่อยู่กับมนุษย์ทั่วโลกไปอีก 10-20 ปี เช่น อีคอมเมิร์ซ คลาวด์ เทคโนโลยี ฟินเทค จีโนมิกส์ เฮลท์แคร์ พลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ และยังมีธีมอื่นๆ อีกมากมาย ที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ 

ETFGI รายงานว่า มูลค่า AUM (Assets Under Management) ของ ETF ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 6.46 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวน ETF ทั้งหมด 2,452 กองทุน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 และมีเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิ 7 เดือนแรก รวมๆ 523,890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม ETP (Exchange Traded Product) ด้วย

นี่คือภาพรวมของความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตหนักแค่ไหน ยังให้ผลตอบแทนที่ดีได้ เมื่อลงทุนระยะยาว เพราะเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสินทรัพย์ทางการเงินหลากหลาย โดยเฉพาะหุ้นและ ETF ที่เป็นโอกาสให้คุณกระจายความเสี่ยงลงทุนในต่างประเทศ

หากคุณสนใจอยากมีพอร์ตลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ Jitta Wealth มีกองทุนส่วนบุคคลที่เปิดโอกาสให้เข้าถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ง่ายขึ้น ผ่าน 4 แผนการลงทุน ได้แก่

Jitta Wealth
  • Jitta Ranking สหรัฐฯ และหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ

ลงทุนในหุ้นรายตัว ในตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq โดยใช้ AI และสร้างอัลกอริทึม มาส่องงบการเงินของแต่ละบริษัทย้อนหลัง 10 ปี แล้ววิเคราะห์คุณภาพกิจการ และกระแสเงินสด ดูว่า เป็นหุ้นคุณค่า (Value Stock) ตามหลักการ VI (Value Investing) ของนักลงทุนชื่อก้องโลก Warren Buffett โดยมีคอนเซ็ปต์ ‘To buy a wonderful company at a fair price’ แปลตรงตัวคือ ‘ซื้อธุรกิจที่ดี ในราคาที่เหมาะสม’

ดังนั้นหลักการสั้นๆ ของ Jitta Ranking คือ โอกาสลงทุน ‘หุ้นดีราคาถูก’ โดยมี 2 แผนลงทุน คือ หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ

ลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท จัดพอร์ตลงทุนในหุ้น 5-30 ตัว

  • Global ETF

นำทฤษฎีที่ได้รับรางวัลโนเบล อย่าง Modern Portfolio Theory (MPT) ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน Harry Markowitz มาเป็นแนวทางในการจัดพอร์ตลงทุน ตามผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงที่เหมาะสม ผ่าน 2 ตัวแปรสำคัญ คือ การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) และการกระจายสินทรัพย์ (Asset Diversification)

แล้วมาสร้างพอร์ตลงทุนสูตรสำเร็จ จัดสัดส่วนระหว่างตราสารหนี้และหุ้น ตามผลตอบแทนที่คาดหวัง ระดับความเสี่ยงต่ำ (4% ต่อปี) ปานกลาง (6% ต่อปี) และ สูง (8% ต่อปี) 

โดยเลือกลงทุนใน ETF ของ iShares และ Vanguard ลงทุนในพันธบัตรกับหุ้นกู้ (เสี่ยงต่ำ) และหุ้นบริษัทจดทะเบียน (เสี่ยงสูง)

ลงทุนเริ่มต้น 100,000 บาท 

  • Thematic

ลงทุนใน Thematic ETF เลือกธีมการลงทุนที่มีโอกาสเติบโตและมีอนาคตไกล ส่วนใหญ่เป็นเมกะเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Disruption เช่น ธีมเทคโนโลยี ธีมคลาวด์ ธีมอีคอมเมิร์ซ ธีมฟินเทค ธีมเกมและอีสปอร์ต ธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว หรือเป็นธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธีมกัญชา ธีมจีโนมิกส์ ธีมพลังงานสะอาดจีน

นอกจากนี้ยังมีธีมตลาดหุ้นที่น่าสนใจ เช่น สหรัฐฯ จีน อินเดีย และเวียดนาม 

ลงทุนเริ่มต้น 100,000 บาท จัดพอร์ตลงทุนตั้งแต่ 1-5 ธีม 

หากคุณสนใจอยากกระจายความเสี่ยงลงทุนต่างประเทศ และสนใจลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในสินทรัพย์อย่างหุ้นและ ETF ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนที่ Line ID: @JittaWealth


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งเป็น WealthTech แห่งแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ้างอิง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรับมือ ‘บาทอ่อน’ เมื่อลงทุนต่างประเทศ

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด